Date:
September 25, 19
การคำนวณปริมาณสินค้าเพื่อส่งออก ทั้งทางเรือและทางอากาศนั้นมีความสำคัญมากๆที่ผู้ส่งออกไม่ควรมองข้าม เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงความผิดพลาด
ในการบรรจุสินค้าลงในตู้คอนเทอร์เนอร์ หรือ โหลดสินค้าขึ้นเครื่องบิน เนื่องจากสินค้านั้นมีรูปแบบที่หลากหลายและแตกต่างกัน
ในบทความนี้ทีมลิสเซิมได้หยิบยกตัวอย่างในการคำนวณปริมาตรของสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาให้ดังนี้
วิธีในการคำนวณปริมาตรของสี่เหลี่ยมจัตุรัส คือ กว้าง X ยาว X สูง จากมิลลิเมตร เป็นลูกบาศก์เมตร เช่น ขนาดของกล่อง คือ 387 x 584 x 387 cm
Credit Photo by : http://www.aimshipping.com/sea-freight.html
ต้องแปลง มิลลิเมตร ( ม.ม. ) เป็น เมตร ( ม. ) ก่อน
10 ม.ม. = 1 ซ.ม.
100 ซ.ม. = 1 ม.
1 ม. = 10 x 100 = 1,000 ม.ม.
1 ม.ม. = 1/1,000 = 0.001 ม.
387 ม.ม. = 387/1,000 = 0.38 ม.
ขนาดกล่อง = 0.38 x 0.584 x 0.38 = 0.0843296 ลูกบาศก์เมตร
ปริมาตรตู้ประมาณ 32 ลูกบาศก์เมตรดังนั้นจะใส่บรรจุเข้าตู้ได้
32 / 0.0843296 = 379.463438697 ตัดเศษทิ้งจะได้เท่ากับ 379 กล่อง
การที่ผู้ส่งออกทราบขนาดสินค้า จำนวนคิวที่ชัดเจนนั้น สามารถช่วยให้ผู้ส่งออกคำนวณเรื่องต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าได้แม่นยำมากขึ้น
อีกทั้งยังสามารถป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหน้างานหากมีการคำนวณที่ผิดพลาด เช่น สินค้ามีจำนวนมากกว่าพื้นที่ของตู้คอนเทนเนอร์และไม่สามารถบรรจุลง
ในตู้คอนเทนเนอร์ที่จองไว้ได้ทั้งหมด