Date:

September 25, 19

ในคอลัมน์นี้ทีมงาน Lissom จะมาบอกเล่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ อนุสัญญาไซเตส  และข้อสงสัยต่างๆ


 
   จากคอลัมน์สินค้าต้องห้ามและสินค้าต้องกำกับ จะพบว่าในหนึ่งในสินค้าที่ห้ามนำเข้าและส่งออกของประเทศไทย คือ สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ที่อยู่ในบัญชีควบคุมของอนุสัญญาไซเตส ในคอลัมน์นี้ทีมงาน Lissom จะมาบอกเล่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ อนุสัญญาไซเตส  และข้อสงสัยต่างๆ เช่น  อนุสัญญาไซเตสนั้นควบคุมเฉพาะกับสัตว์ที่ใกล้สูญพันธ์เท่านั้นหรือไม่ และหากผู้นำเข้า/ส่งออก ต้องการส่งออกสัตว์ที่อยู่ในบัญชีควบคุมของไซเตสควรติดต่อกับหน่วยงานใดบ้าง

          อนุสัญญาไซเตส (CITES: The Convention on international Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) เป็นอนุสัญญาที่ว่าด้วยเรื่องการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช้เพียงสัตว์ป่า แต่รวมถึงพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ด้วย อนุสัญญานี้ถือกำเนินที่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้อนุสัญญาไซเตสมีอีกชื่อหนึ่งคือ อนุสัญญาวอชิงตัน อนุสัญญานี้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการควบคุมการค้าสัตว์ป่า และพืชป่าระหว่างประเทศ ซึ่งจุดมุ่งหมายของสัญญานี้ คือ ต้องการให้มนุษย์ไม่กระทำการใดที่ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความอยู่รอดของ พืช หรือ สัตว์ชนิดพันธุ์นั้นๆ จนเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ได้ แต่ทั้งนี้ อนุสัญญาไซเตสไม่ได้ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น โดยอนุสัญญาไซเตสควบคุมการค้าสัตว์ป่า และพืชป่าระหว่างประเทศโดยใช้ ระบบใบอนุญาติ/ใบรับรอง สัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่อนุสัญญาไซเตสควบคุม จะต้องมีใบอนุญาติในการการค้าระหว่างประเทศ โดยอนุสัญญาไซเตสทำการแบ่งระดับความเข้มงวดของชนิดพันธุ์เป็นบัญชี 1, 2 และ 3 ตามลำดับดังนี้
 

ชนิดพันธุ์ในบัญชี 1 (Appendix I) : เป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ทำให้เข้มงวดห้ามค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นแต่ได้รับอนุญาตเฉพาะเป็นบางกรณีเท่านั้น โดยคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นเป็นหลัก
 

ชนิดพันธุ์ในบัญชี 2 (Appendix II) : เป็นชนิดพันธุ์ที่ไม่ได้อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ แต่ต้องควบคุมการค้าเพื่อไม่ให้ปริมาณลดลงจนอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธ์ โดยประเทศที่ทำการส่งออกต้องออกหนังสืออนุญาติส่งออกและรับรองว่าการส่งออกจะไม่ส่งผลต่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ


 
ชนิดพันธุ์ในบัญชี 3 (Appendix III) : เป็นชนิดพันธ์ที่ได้รับความร่วมคุ้มครองจากประเทศต้นกำเนิดจึงขอความร่วมมือกับประเทศสมาชิคในภาคี ในการดูแลการนำเข้าว่าต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด

หน่วยงานในประเทศไทยที่ทำหน้าควบคุมและดูแลชนิดพันธุ์ที่อนุสัญญาไซเตสควบคุม มีดังนี้
หน่วยงานที่รับผิดชอบ รับผิดชอบ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
(National Park Wildlife and Plant Conservation Department)
สัตว์ป่า
กรมวิชาการเกษตร (Department of Agriculture) พืชป่า
กรมประมง (Department of Fisheries) ปลาและสัตว์น้ำ
  • กองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
           (Natural Resources and Environmental Crime Division-NRECD)
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Royal thai police)
สนับสนุนด้านการป้องกันและปราบปราม
ผู้นำเข้าสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ >>>  อนุสัญญาไซเตส