Date:
November 10, 23
☢️สินค้าอันตรายกับการขนส่งภายในประเทศ☢️
⚠️ในการนำเข้าและส่งออกสินค้าหรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชน ทุกอย่างล้วนมีเงื่อนไขและขั้นตอนการปฏิบัติการ เพื่อการขนส่งได้อย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด วันนี้ LISSOM LOGISTICS จะพาเพื่อนๆไปเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าอันตรายด้วยกันครับ ว่ามีกี่ประเภท และมีปฏิกิริยาอย่างไร เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของเพื่อนๆก่อนทำการจัดส่งครับผม
เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมภายในประเทศไทยปัจจุบันมีการเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อมเมื่อทำการขนส่ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ขนส่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าอันตรายประเภทนั้นๆเป็นอย่างดี เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง
⚠️สินค้าอันตรายจะถูกแบ่งเป็น 9 ประเภท ซึ่งบางประเภทสามารถจัดแบ่งออกเป็นประเภทย่อย
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด
ประเภทย่อย 1.1 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดทั้งมวล
ประเภทย่อย 1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการพุ่งกระเด็นแต่จะไม่ระเบิดทั้งมวล
ประเภทย่อย 1.3 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการติดไฟและมีการระเบิดหรือพุ่งกระเด็น หรือทั้งสองอย่างแต่จะไม่ระเบิดทั้งมวล
ประเภทย่อย 1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่สามารถระบุลักษณะการระเบิดได้ชัดเจน
ประเภทย่อย 1.5 สารที่ไม่มีความไวต่อการระเบิดและมีอันตรายจาก ชการระเบิดทั้งมวล
ประเภทย่อย 1.6 สารที่ไม่มีความไวต่อการระเบิดและไม่มีการระเบิดทั้งมวล
ประเภทที่ 2 ก๊าซ
ประเภทย่อย 2.1 ก๊าซไวไฟ
ประเภทย่อย 2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไม่มีพิษ
ประเภทย่อย 2.3 ก๊าซพิษ
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ
ประเภทที่ 4 ของแข็งวไฟ, สารที่ลุกไหม้ได้เอง, สารซึ่งเมื่อปียกน้ำจะให้ก๊าซไวไฟ
ประเภทย่อย 4.1 ของแข็งไวไฟ สารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเอง และของแข็งวัตถุระเบิดที่ถูกทำให้เฉื่อยแล้ว
ประเภทย่อย 4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง
ประเภทย่อย 4.3 สารที่ให้ก๊าซไวไฟเทื่อสัมผัสน้ำ
ประเภทที่ 5 สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
ประเภทย่อย 5.1 สารออกซิไดส์
ประเภทย่อย 5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
ประเภทที่ 6 สารพิษและสารติดเชื้อ
ประเภทย่อย 6.1 สารพิษ
ประเภทย่อย 6.2 สารติดเชื้อ
ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี
ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน
ประเภทที่ 9 สารอันตรายเบ็ดเตล็ดและสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้สินค้าอันตรายแต่ละประเภทยังมีการจำแนกบรรจุภัณฑ์ หน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบของผู้ที่ทำการขนส่งอีกด้วย ดังนั้นจึงควรมีการจัดการฝึกอบรมบุคคลากรที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายก่อนทำการปฏิบัติงานจริง เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ที่ทำการขนส่งนั่นเอง
ที่มา : https://www.dgt-academy.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B-%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%AA-%E0%B8%99%E0%B8%84-%E0%B8%B2%E0%B8%AD-%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2