EXCHANGE RATE


Date:

September 25, 19

อัตราแลกเปลี่ยนของกรมศุลกากร 


 
ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้า/ส่งออกระหว่างประเทศ เคยสงสัยไหมค่ะ ว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่แสดงในใบขนสินค้า นำมาจากธนาคารไหน หรืออ้างอิงจากแหล่งไหน ในคอลัมน์นี้ Lissom จะนำเสนอที่มาของอัตราแลกเปลี่ยนในใบขนกันค่ะ
อัตราแลกเปลี่ยนที่แสดงในใบขนสินค้านั้น ไม่ได้แสดงอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารใดธนาคารหนึ่งค่ะ แต่เป็นอัตราแลกเปลี่ยนกลางที่ทางกรมศุลกากรจะประกาศในแต่ละเดือน เพิ่มหน่อยว่าเอามาจากหน้าเวปกรมศุล ลิงค์ไหน (อัตราแลกเปลี่ยนกรมศุลกากร) ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนนี้จะนำมาให้เพื่อคำนวณฐานภาษีอากรเท่านั้นค่ะ โดยในใบขนสินค้าจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนของเดือนที่เรือถึงค่ะ


ขอยกตัวอย่างเพื่อง่ายต่อความเข้าใจนะคะ  
ขอยกกรณี การนำเข้าสินค้า มูลค่า EUR 100  สมมติอัตราแลกเปลี่ยนของ ธนาคาร A ณ วันที่จะโอนเงิน  คือ EUR 1 = 37 บาท ดังนั้น มูลค่าสินค้าเท่ากับ 3700 บาท แต่เมื่อต้องคำนวณฐานภาษีอากร อัตราแลกเปลี่ยนจะคนละอัตรากับธนาคาร ถ้าสินค้าที่นำเข้ามาถึงประเทสไทยในเดือน ธันวาคม เราก็จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนประจำเดือนธันวาคมที่ทางกรมศุลกากรประกาศ จากภาพด้านบน EUR 1 = 37.9086 (ดูอัตราอากรในช่อง การนำเข้า ค่ะ)  จากนั้นนำไปคำนวณภาษีอากร สามารถดูได้จาก(บทความ DUTY TAX) นะคะ
 นั้นเป็นสาเหตุที่ว่าในบางครั้งผู้นำเข้าส่งออกที่ คำนวณภาษีอากร ไว้คร่าวๆไม่ตรงกับค่าภาษีอากรที่แสดงในใบขนสินค้า ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอัตราแลกเปลี่ยนคนละตัวกันนั้นเองค่ะ