Date:
February 23, 24
ในการทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกนั้นผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้วิธีในการขนส่งรวมถึงบริหารจัดการสินค้าได้ตามความเหมาะสม ในวันนี้ Lissom Logistics จะมาพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับบริการ Freight Forwarder ว่ามีข้อดีอย่างไร และมีการให้บริการอย่างไรกันครับ
1. ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าหรือประสานงานกับผู้ให้บริการด้านการขนส่ง ทั้งทางเครื่องบิน ทางเรือและทางรถ (Transportation Provider)
2. เป็นตัวแทนในการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า (Forwarding Business)
3. เป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้นำเข้า-ส่งออกเพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากร (Custom Broker) ในกรณีที่บริษัท Freight Forwarder นั้นๆ ได้ทำการจดทะเบียนเป็น shipping แล้ว
4. ให้บริการจัดการโรงพักสินค้าหรือโกดังเก็บสินค้า ซึ่งบริษัท Freight Forwarder อาจเป็นผู้บริหารจัดการเองหรือมีการใช้บริการโรงพักสินค้ากับผู้ประกอบการอื่นที่มีโรงพักสินค้าไว้บริการ (Warehouse)
5. ให้บริการทางด้านแรงงาน คนงาน ในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ (Labor)
6. ให้บริการด้านการบริหารโลจิสติกส์ หรือการกระจายสินค้า (Logistics Service)
7. ให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้า (Business Consultant)
8. ให้บริการดำเนินการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยแต่ละโหมดจะมีผู้ให้บริการขนส่งหรือนิติบุคคลที่รับผิดชอบแตกต่างกัน ซึ่ง Freight Forwarder บางเจ้าอาจไม่มีการให้บริการประเภทนี้
ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ผู้นำเข้า-ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ให้ครบถ้วน บริการ Freight Forwarder จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า
ทั้งนี้การให้บริการ Freight Forwarder ยังครอบคลุมไปถึงการจัดการเอกสาร และการยื่นใบขออนุญาตต่างๆในการนำเข้า-ส่งออกอีกด้วย และในบางบริษัท Freight Forwarder ก็อาจมีข้อจำกัดในการให้บริการที่แตกต่างกัน บริษัท Lissom Logistics จึงมีการให้บริการที่ครบวงจรด้วยเครือข่ายพันธมิตรที่ครอบคลุมทั่วโลก และนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายในการให้บริการจัดการขนส่งและสามารถช่วยลดต้นทุนให้กับลูกค้า รวมไปถึงการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าที่มีความซับซ้อนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้แบบ one stop services
1. ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าหรือประสานงานกับผู้ให้บริการด้านการขนส่ง ทั้งทางเครื่องบิน ทางเรือและทางรถ (Transportation Provider)
2. เป็นตัวแทนในการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า (Forwarding Business)
3. เป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้นำเข้า-ส่งออกเพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากร (Custom Broker) ในกรณีที่บริษัท Freight Forwarder นั้นๆ ได้ทำการจดทะเบียนเป็น shipping แล้ว
4. ให้บริการจัดการโรงพักสินค้าหรือโกดังเก็บสินค้า ซึ่งบริษัท Freight Forwarder อาจเป็นผู้บริหารจัดการเองหรือมีการใช้บริการโรงพักสินค้ากับผู้ประกอบการอื่นที่มีโรงพักสินค้าไว้บริการ (Warehouse)
5. ให้บริการทางด้านแรงงาน คนงาน ในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ (Labor)
6. ให้บริการด้านการบริหารโลจิสติกส์ หรือการกระจายสินค้า (Logistics Service)
7. ให้บริการด้านคำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้า (Business Consultant)
8. ให้บริการดำเนินการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยแต่ละโหมดจะมีผู้ให้บริการขนส่งหรือนิติบุคคลที่รับผิดชอบแตกต่างกัน ซึ่ง Freight Forwarder บางเจ้าอาจไม่มีการให้บริการประเภทนี้
ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ผู้นำเข้า-ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ให้ครบถ้วน บริการ Freight Forwarder จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออกสินค้า
ทั้งนี้การให้บริการ Freight Forwarder ยังครอบคลุมไปถึงการจัดการเอกสาร และการยื่นใบขออนุญาตต่างๆในการนำเข้า-ส่งออกอีกด้วย และในบางบริษัท Freight Forwarder ก็อาจมีข้อจำกัดในการให้บริการที่แตกต่างกัน บริษัท Lissom Logistics จึงมีการให้บริการที่ครบวงจรด้วยเครือข่ายพันธมิตรที่ครอบคลุมทั่วโลก และนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายในการให้บริการจัดการขนส่งและสามารถช่วยลดต้นทุนให้กับลูกค้า รวมไปถึงการให้บริการจัดการขนส่งสินค้าที่มีความซับซ้อนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้แบบ one stop services