Date:
March 15, 20
Importer Security Filing (ISF)
หมายถึงการกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการขนส่งสินค้า Import Security Filling and Additional Carrier Requirements หรือที่เรียกกันว่า ข้อเสนอ 10+2 ที่ ศุลกากรสหรัฐอเมริกา (U.S. Customs and Border Protection-CBP) ได้ประกาศไว้ เพื่อให้ผู้ประกอบการส่งข้อมูลISFให้กับสายเรือ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเรือออก ถ้าไม่ยื่น ISF ก่อนที่เรือจะออกเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาจะมีโทษและถูกปรับเป็นจำนวนเงิน $ 5,000
ISF 10+2 มีกฎหมาย SAFE Port Act เพื่อใช้ในการกำหนดกฎระเบียบในการรักษาความปลอดภัยที่ท่าเรือต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า Security Filling Data อยู่ 10 รายการ คือ
1. ชื่อและที่อยู่โรงงานผลิต (Manufacturer name and address) คือ ชื่อและที่อยู่ของ “manufacturer / producer / grower” ที่สุดท้าย ที่เป็นผู้จัดการกับสินค้าก่อนการจัดส่งไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาชื่อผู้ผลิตได้ ทางศุลกากรยินยอมให้ใช้ชื่อ supplier แทนได้
2. ชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย (Seller name and address) คือ ชื่อผู้ขายคนสุดท้ายในต่างประเทศที่เป็นชื่อที่ปรากฏอยู่บนใบสั่งซื้อหรือใบเสร็จ
3. สถานที่ที่สินค้าถูกบรรจุลงตู้ (Container stuffing location) คือ สถานที่ในต่างประเทศที่สินค้าถูกบรรจุลงในตู้คอนเทรนเนอร์ก่อนที่จะทำการปิดตู้คอนเทรนเนอร์
4. ชื่อและที่อยู่ของผู้ที่จัดการรวบรวมสินค้าลงตู้ (Consolidator name and address) คือ จุดในต่างประเทศที่สินค้าถูกบรรจุลงในตู้คอนเทรนเนอร์ก่อนที่จะถูกส่งให้บริษัทเดินเรือดำเนินการส่งต่อไปยังสหรัฐอเมริกา ที่อาจจะไม่ใช่โรงงานผลิตหรือที่ทำการของผู้จัดส่งสินค้า (Shipper)
5. ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ (buyer name and address) คือ ชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อคนสุดท้าย ภายใน24 ชั่วโมงก่อนที่สินค้าจะถูกขนถ่ายลงเรือที่ท่าเรือในต่างประเทศ
6. ชื่อและที่อยู่ปลายทางที่สินค้าจะถูกส่งไป (Ship to name and address) คือชื่อและที่อยู่ที่จะเป็นสถานที่ที่จะรับสินค้านั้นไปเก็บไว้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ชื่อเดียวกันกับผู้รับสินค้า
7. หมายเลขของผู้นำเข้า (Importer of record number) คือ หมายเลขประจำตัวของบริษัทที่จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจ่ายชำระค่าธรรมเนียมภาษีนำเข้าสินค้าหรือผู้ที่เป็นตัวแทนที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดังกล่าว ผู้นำเข้าในที่นี้อาจจะเป็นคนใดคนหนึ่งก็ได้ในกลุ่มนี้ คือผู้รับสินค้า ที่ถูกระบุว่าเป็นผู้นำเข้าเจ้าของสินค้าที่แท้จริง และผู้ที่ทำหน้าที่โยกย้ายจัดส่งสินค้า ซึ่งกรณีที่เป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้วข้างต้น หมายเลขประจำตัวที่จะต้องระบุใน Security Filing อาจจะเป็นหมายเลขที่ได้จาก IRS (Internal Revenue Service : หน่วยงานสรรพากรสหรัฐอเมริกา) EIN (Employer Identification Number หรือ federal Tax Identification Number : หมายเลขเสียภาษีรัฐบาลกลาง) SSN (Social Security Number : หน่วยงานสวัสดิการสังคม) หรือ CBP (Customs and Border Patrol : หน่วยงานศุลกากรสหรัฐอเมริกา) ก็เป็นได้
8. หมายเลขของผู้รับของ (Consignee number) คือ หมายเลขที่ได้มาจาก IRS, EIN, SSN หรือ CBP ก็เหมือนเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
9. ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า (Country of Origin of Goods) คือ สินค้ามีแหล่งกำเนิกจากประเทศอะไร เช่น ประเทศไทย
10. หมายเลขรหัสภาษีศุลกากร (6 หลัก) (Commodity Harmonized Tariff Schedule Number - 6 digits) คือพิกัดสินค้าที่ส่งออก เช่น 3926.90 ในกรณีที่เป็นการส่งสินค้าในลักษณะ “no sale” อาจจะใช้ชื่อเจ้าของสินค้า แทนที่ชื่อผู้ซื้อหรือชื่อผู้ขายได้
และมีมาตรการกำหนดให้สอดคล้องกับกฎหมาย Security and Accountability for Every (SAFE) Port Act ซึ่งออกมาก่อนหน้านี้ โดยกำหนดให้ผู้นำเข้า (importer) และผู้ขนส่ง (Carrier) ที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาจะต้องจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมทางอิเลคทรอนิกส์เกี่ยวกับสินค้าให้แก่ศุลกากรสหรัฐ อเมริกา ก่อนที่จะนำสินค้าลงเรือ ดังนี้
1.แผนผังการจัดเรียงสินค้า (vessel stow plan) บนเรือโดยระบุข้อมูลและตำแหน่งของสินค้า
2.รายงานข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนแปลงตู้ขนส่งสินค้า (Container stautus message) เช่น ตู้สินค้าว่ามีสถานะว่างหรือเต็ม เป็นต้น
ตัวอย่าง ISF 10+2 form
หมายถึงการกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในการขนส่งสินค้า Import Security Filling and Additional Carrier Requirements หรือที่เรียกกันว่า ข้อเสนอ 10+2 ที่ ศุลกากรสหรัฐอเมริกา (U.S. Customs and Border Protection-CBP) ได้ประกาศไว้ เพื่อให้ผู้ประกอบการส่งข้อมูลISFให้กับสายเรือ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเรือออก ถ้าไม่ยื่น ISF ก่อนที่เรือจะออกเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาจะมีโทษและถูกปรับเป็นจำนวนเงิน $ 5,000
ISF 10+2 มีกฎหมาย SAFE Port Act เพื่อใช้ในการกำหนดกฎระเบียบในการรักษาความปลอดภัยที่ท่าเรือต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า Security Filling Data อยู่ 10 รายการ คือ
1. ชื่อและที่อยู่โรงงานผลิต (Manufacturer name and address) คือ ชื่อและที่อยู่ของ “manufacturer / producer / grower” ที่สุดท้าย ที่เป็นผู้จัดการกับสินค้าก่อนการจัดส่งไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาชื่อผู้ผลิตได้ ทางศุลกากรยินยอมให้ใช้ชื่อ supplier แทนได้
2. ชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย (Seller name and address) คือ ชื่อผู้ขายคนสุดท้ายในต่างประเทศที่เป็นชื่อที่ปรากฏอยู่บนใบสั่งซื้อหรือใบเสร็จ
3. สถานที่ที่สินค้าถูกบรรจุลงตู้ (Container stuffing location) คือ สถานที่ในต่างประเทศที่สินค้าถูกบรรจุลงในตู้คอนเทรนเนอร์ก่อนที่จะทำการปิดตู้คอนเทรนเนอร์
4. ชื่อและที่อยู่ของผู้ที่จัดการรวบรวมสินค้าลงตู้ (Consolidator name and address) คือ จุดในต่างประเทศที่สินค้าถูกบรรจุลงในตู้คอนเทรนเนอร์ก่อนที่จะถูกส่งให้บริษัทเดินเรือดำเนินการส่งต่อไปยังสหรัฐอเมริกา ที่อาจจะไม่ใช่โรงงานผลิตหรือที่ทำการของผู้จัดส่งสินค้า (Shipper)
5. ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ (buyer name and address) คือ ชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อคนสุดท้าย ภายใน24 ชั่วโมงก่อนที่สินค้าจะถูกขนถ่ายลงเรือที่ท่าเรือในต่างประเทศ
6. ชื่อและที่อยู่ปลายทางที่สินค้าจะถูกส่งไป (Ship to name and address) คือชื่อและที่อยู่ที่จะเป็นสถานที่ที่จะรับสินค้านั้นไปเก็บไว้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ชื่อเดียวกันกับผู้รับสินค้า
7. หมายเลขของผู้นำเข้า (Importer of record number) คือ หมายเลขประจำตัวของบริษัทที่จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการจ่ายชำระค่าธรรมเนียมภาษีนำเข้าสินค้าหรือผู้ที่เป็นตัวแทนที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดังกล่าว ผู้นำเข้าในที่นี้อาจจะเป็นคนใดคนหนึ่งก็ได้ในกลุ่มนี้ คือผู้รับสินค้า ที่ถูกระบุว่าเป็นผู้นำเข้าเจ้าของสินค้าที่แท้จริง และผู้ที่ทำหน้าที่โยกย้ายจัดส่งสินค้า ซึ่งกรณีที่เป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้วข้างต้น หมายเลขประจำตัวที่จะต้องระบุใน Security Filing อาจจะเป็นหมายเลขที่ได้จาก IRS (Internal Revenue Service : หน่วยงานสรรพากรสหรัฐอเมริกา) EIN (Employer Identification Number หรือ federal Tax Identification Number : หมายเลขเสียภาษีรัฐบาลกลาง) SSN (Social Security Number : หน่วยงานสวัสดิการสังคม) หรือ CBP (Customs and Border Patrol : หน่วยงานศุลกากรสหรัฐอเมริกา) ก็เป็นได้
8. หมายเลขของผู้รับของ (Consignee number) คือ หมายเลขที่ได้มาจาก IRS, EIN, SSN หรือ CBP ก็เหมือนเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
9. ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า (Country of Origin of Goods) คือ สินค้ามีแหล่งกำเนิกจากประเทศอะไร เช่น ประเทศไทย
10. หมายเลขรหัสภาษีศุลกากร (6 หลัก) (Commodity Harmonized Tariff Schedule Number - 6 digits) คือพิกัดสินค้าที่ส่งออก เช่น 3926.90 ในกรณีที่เป็นการส่งสินค้าในลักษณะ “no sale” อาจจะใช้ชื่อเจ้าของสินค้า แทนที่ชื่อผู้ซื้อหรือชื่อผู้ขายได้
และมีมาตรการกำหนดให้สอดคล้องกับกฎหมาย Security and Accountability for Every (SAFE) Port Act ซึ่งออกมาก่อนหน้านี้ โดยกำหนดให้ผู้นำเข้า (importer) และผู้ขนส่ง (Carrier) ที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาจะต้องจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมทางอิเลคทรอนิกส์เกี่ยวกับสินค้าให้แก่ศุลกากรสหรัฐ อเมริกา ก่อนที่จะนำสินค้าลงเรือ ดังนี้
1.แผนผังการจัดเรียงสินค้า (vessel stow plan) บนเรือโดยระบุข้อมูลและตำแหน่งของสินค้า
2.รายงานข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนแปลงตู้ขนส่งสินค้า (Container stautus message) เช่น ตู้สินค้าว่ามีสถานะว่างหรือเต็ม เป็นต้น
ตัวอย่าง ISF 10+2 form