Date:
April 29, 22
.png)
ระบบ LEAN กับโลจิสติกส์
ระบบลีน (LEAN) เป็นระบบช่วยให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการลดสิ่งที่ไม่เกิดมูลค่าหรือ Waste และเปลี่ยนความสูญเปล่าให้มีเกิดคุณค่า
นอกจากอุตสาหกรรมโรงงานแล้ว อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบ LEAN ก็คือโลจิสติกส์ โดยเฉพาะบริษัทขนส่งได้มีการนำแนวคิดของระบบ LEAN มาประยุกต์ใช้เพื่อขจัดและลดความสูญเปล่าในกระบวนการต่างๆเนื่องจากบริษัทขนส่งเป็นบริษัทที่มีค่าใช้จ่ายและมีกิจกรรมที่ทำมาก หมายความว่าการออกแบบระบบให้ดีและการทำงานให้มีประสิทธิภาพก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นด้วย เช่น การผลิตและส่งสินค้าตามความต้องการของลูกค้า การการวางแผนเส้นทางการขนส่ง การเลือกใช้พาหนะที่เหมาะสม เป็นต้น
ตัวอย่างความสูญเปล่าในโลจิสติกส์เช่น สินค้าคงคลังที่เกิดจากการเก็บเผื่อไว้มากเกินไป การขนส่งตั้งแต่การเปลี่ยนโหมดการขนส่งที่ไม่เหมาะสม ขนาดของยานพาหนะที่ใช้ การบรรทุกสินค้าไม่เต็มคันหรือการวิ่งเที่ยวเปล่าขากลับ ระบบขั้นตอนต่างๆ ที่ทำให้เกิดการรอคอย รอระบบประมวลผล ทำให้เสียเวลา การออกแบบบรรจุภัณฑ์ไม่เหมาะสม รูปทรงไม่เอื้อต่อการ เป็นต้น
4 หลักการของ LEAN
- การระบุมูลค่าที่องค์กรต้องการที่จะสร้างให้กับลูกค้าและพิจารณา ‘มูลค่าที่สามารถเพิ่มให้กับกระบวนการต่างๆและหาวิธีลดกระบวนการที่ไม่เพิ่มคุณค่า เช่นเป็นขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ไม่จำเป็นต่อการทำงาน
- การระบุขั้นตอนการทำงานซึ่งก็รวมถึงขั้นตอนกระบวนการต่างๆ และคนที่เข้าร่วมในขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อกำจัดกระบวนการที่ไม่สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์โดยรวม การทำแผนที่ของกระแสคุณค่าช่วยให้สามารถระบุช่องว่างในกระบวนการและจะทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนว่าความล่าช้าอยู่ที่ไหน
- ประยุกต์ใช้ปัจจัยข้างต้นเพื่อสร้างลำดับการทำงานที่มีประสิทธิภาพและรัดกุมเพื่อลดการหยุดชะงักของการทำงานและสินค้าคงคลังทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถไปสู่ลูกค้าได้อย่างราบรื่น
- ใช้ Pull System คือการนำความต้องการของลูกค้ามาเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน เช่นการเลือกผลิตสินค้าที่ลูกค้าต้องการมากกว่า หรือการปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของระบบ
https://bit.ly/3rx2HwO
https://bit.ly/3KQVoHS
https://bit.ly/3MfoZeq
เคลียร์สินค้า