NVOCC มีหน้าที่การให้บริการอย่างไร


Date:

January 12, 24

การนำเข้าสินค้าทางเรือ ถือเป็นการขนส่งหลักของการนำเข้าในประเทศไทย เนื่องจากมีค่าขนส่งต่ำ และสามารถขนส่งได้ในปริมาณมาก ซึ่งในบางกรณีอาจมีการใช้บริการรับจัดการขนส่งสินค้า ซึ่ง Freight Forwarder ประเภทที่ให้บริการทางทะเลนี้ จะถูกเรียกว่า Non Vessel Operating Common Carrier หรือ NVOCC หรือที่สหรัฐอเมริกาเรียกว่า Ocean transportation Intermediaries – OTIs
ซึ่ง NVOCC สามารถให้บริการได้เช่นเดียวกับสายเดินเรือ ดังนี้
CFS = Container Freight Station หรือ โรงพักสินค้า
CY = Container Yard หรือ ลานพักตู้สินค้า
CFS/CY : หมายถึงผู้รับจัดการขนส่งสินค้า NVOCC จะรับสินค้าของผู้ส่งของที่โรงพักสินค้าที่ตนกำหนดไว้ จนเมื่อถึงเวลาการขนส่ง จึงดำเนินการตรวจนับ บรรจุ ตรวจสอบความเสียหายระหว่างการบรรจุสินต้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ แล้วจึงลากตู้ไปที่ CY เพื่อรอขึ้นเรือ มีความรับผิดชอบจาก CY ต้นทางไปยัง CY ปลายทาง
CY/CY : ผู้ส่งสินค้าบรรจุสินค้าที่โรงงาน โดยลากตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ไปบรรจุแล้วนำตู้ที่บรรจุเสร็จแล้วมาคืนที่ CY ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าเข้ารับขนส่งสินค้าที่ CY ต้นทาง มีความรับผิดฃอบไปจนถึง CY ของประเทศปลายทาง
CY/CFS : ผู้ส่งสินค้าบรรจุสินค้าเองที่โรงงาน โดยลากตู้คอนเทนเนอร์เปล่าไปบรรจุ แล้วนำตู้ที่บรรจุเสร็จแล้วมาคืนที่ CY ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าที่ CY ต้นทาง มีความรับผิดชอบไปจนถึง CFS ของประเทศปลายทาง นั่นคือ ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าจะต้องดำเนินการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ นำสินค้าออกมาฝากเก็บไว้ในโรงพักสินค้า รอผู้รับตราส่งมารับสินค้ามารับสินค้าดังกล่าวไป
CFS/CFS : ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า NVOCC จะรับสินค้าของผู้ส่งของที่โรงพักสินค้าที่ตนกำหนดไว้ จนเมื่อถึงเวลาการขนส่ง จึงดำเนินการตรวจนับ บรรจุ ตรวจสอบความเสียหายระหว่างการบรรจุสินต้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ เนอร์ แล้วจึงลากตู้ไปที่ CY เพื่อรอขึ้นเรือ ซึ่งมีความรับผิดชอบในการขนส่งจาก CY ต้นทางไปยัง CFS ของประเทศปลายทาง นั่นคือ ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าจะต้องทำการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ แล้วนำสินค้าออกมาฝากเก็บไว้ในโรงพักสินค้า รอผู้รับตราส่งมารับสินค้าดังกล่าวไป
เนื่องจาก บริการ NVOCC เป็นบริการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการผู้ประกอบการที่ไม่มีเรือบรรทุกสินค้าเป็นของตัวเอง และมีค่าภาระในการดำเนินงานค่อนข้างสูงตามเงื่อนไขการค้า (Incoterm) ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องวางแผนการจัดส่งสินค้า เลือกการขนส่งที่มีความคุ้มค่าและรวดเร็วที่สุด ซึ่งในการขนส่งทางสินค้าทางเรือนั้น มักจะมีเส้นทางเดินเรือแบบเครือข่าย ซึ่งเส้นทางเดินเรือของเรือแม่ หรือเรือขนาดใหญ่ (Mother vessel) และเรือลูก หรือเรือขนาดกลางหรือเล็ก (Feeder vessel) นั้นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายด้วยเช่นกัน
-Feeder vessel มีขนาดเล็กกว่าเรือแม่ โดยจะให้บริการขนส่งตู้สินค้าจากเรือสินค้าขนาดใหญ่ (เรือแม่) ไปยังท่าเรือขนาดเล็ก หรือจากท่าเรือขนาดเล็กไปยังเรือแม่
-Mother vessel หรือที่เรียกว่าเรือแม่ จะมีขนาดใหญ่ โดยจะให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือหลักที่เป็นฐานการให้บริการใหญ่ๆเท่านั้น
ที่มา : หนังสือ ธุรกิจผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ Freight Forwarder Business โดย คุณเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์
                                            </div>
                                        </div>
                                        
                                        
                                        
                                        
                                    </div>
                                    <div class=