Date:
September 25, 19
สินค้าที่ห้ามนำเข้า/ส่งออก(ของต้องห้าม) และ สินค้าที่ต้องใช้ใบอนุญาตในการนำเข้า/ส่งออก(ของต้องกำกัด) ของประเทศไทย
ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้า/ส่งออกระหว่างประเทศ นอกจากการลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า/ส่งออกกับทางกรมศุลกากรแล้ว (ลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า/ส่งออก)
ผู้นำเข้า/ส่งออกสินค้าจำเป็นต้องศึกษาว่าสินค้านั้นๆสามารถ นำเข้า/ส่งออก ไปยังประเทศปลายทางได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องใช้ใบอนุญาติจากหน่วยงานใดบ้าง ในคอลัมน์นี้จะนำเสนอว่า สินค้าที่ห้ามนำ
เข้า/ส่งออก(ของต้องห้าม) และ สินค้าที่ต้องใช้ใบอนุญาตในการนำเข้า/ส่งออก(ของต้องกำกัด) ของประเทศไทย มีอะไรบ้างนะคะ
1. ของต้องห้าม หมายถึง ของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไป
นอกราชอาณาจักรจะมีความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 244 และ มาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ด้วย (กรมศุลกากร. 2561. ของต้องห้ามหรือ
ต้องมีใบอนุญาต ในการนำเข้า/ส่งออก, จาก กรมศุลกากร)
2. ของต้องกำกัด หมาย ถึงสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น ต้อง
มีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิ
ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 244 และ มาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560
ด้วยตัวอย่าง สินค้าที่มีมาตรการนำเข้า,สินค้าที่มีมาตรการส่งออก,สินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้า (กรมศุลกากร. 2561. ของต้องห้ามหรือต้องมีใบอนุญาต ในการนำเข้า/ส่งออก, จาก กรมศุลกากร)
ผู้นำเข้า/ส่งออก สามารถตรวจสอบการของใบอนุญาติของสินค้าและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามตารางด้านล่างค่ะ
ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้า/ส่งออกระหว่างประเทศ นอกจากการลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า/ส่งออกกับทางกรมศุลกากรแล้ว (ลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า/ส่งออก)
ผู้นำเข้า/ส่งออกสินค้าจำเป็นต้องศึกษาว่าสินค้านั้นๆสามารถ นำเข้า/ส่งออก ไปยังประเทศปลายทางได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องใช้ใบอนุญาติจากหน่วยงานใดบ้าง ในคอลัมน์นี้จะนำเสนอว่า สินค้าที่ห้ามนำ
เข้า/ส่งออก(ของต้องห้าม) และ สินค้าที่ต้องใช้ใบอนุญาตในการนำเข้า/ส่งออก(ของต้องกำกัด) ของประเทศไทย มีอะไรบ้างนะคะ
1. ของต้องห้าม หมายถึง ของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไป
นอกราชอาณาจักรจะมีความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 244 และ มาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ด้วย (กรมศุลกากร. 2561. ของต้องห้ามหรือ
ต้องมีใบอนุญาต ในการนำเข้า/ส่งออก, จาก กรมศุลกากร)
2. ของต้องกำกัด หมาย ถึงสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น ต้อง
มีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิ
ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 244 และ มาตรา 246 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560
ด้วยตัวอย่าง สินค้าที่มีมาตรการนำเข้า,สินค้าที่มีมาตรการส่งออก,สินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้า (กรมศุลกากร. 2561. ของต้องห้ามหรือต้องมีใบอนุญาต ในการนำเข้า/ส่งออก, จาก กรมศุลกากร)
ผู้นำเข้า/ส่งออก สามารถตรวจสอบการของใบอนุญาติของสินค้าและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามตารางด้านล่างค่ะ
สินค้า | หน่วยงาน |
พระพุทธรูป ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ | กรมศิลปากร |
อาวุธ กระสุนปืน วัตถุระเบิด และสิ่งเทียมอาวุธปืน | กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
พืชและส่วนต่างๆของพืช | กรมวิชาการเกษตร |
สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ | กรมปศุสัตว์ |
อาหารยาเครื่องสำอางและอาหารเสริม | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา |
ชิ้นส่วนยานพาหนะ | กระทรวงอุตสาหกรรม |
บุหรี่ ยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ | กรมสรรพสามิต |
เครื่องมือวิทยุสื่อสาร อุปกรณ์โทรคมนาคม | สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ |