Date:
June 19, 19
การเสียภาษีนำเข้าเองก็เป็นส่วนที่มักมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการ หรืออื่นๆ ซึ่งที่ผ่านมานั้น มีผู้นำเข้าจำนวนไม่น้อยที่สับสนกับภาษีต่างๆ ที่สั่งซื้อ หรือต้องการที่จะนำเข้ามา ทำให้ไม่แน่ชัดในการคำนวนต้นทุน จนอาจเกิดปัญหากับการผ่านพิธีการศุลกากร ดังนั้น การมีข้อมูลและเข้าใจสินค้าตั้งแต่แรกนั้นจะทำให้เกิดการดำเนินการที่ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น โดยการคำนวนภาษีของสินค้าแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน รวมถึงปริมาณสินค้านั้นๆ ด้วย
สำหรับการคำนวณภาษีนำเข้านั้นจะใช้ราคา CIF (ค่าสินค้า + ประกันภัย + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ) เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณรวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละประเภทของสินค้า
วิธีการคำนวณภาษีนำเข้า
ราคา CIF x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า
(ราคา CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ
หากสินค้าบางประเภทก็ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในการนำเข้า ซึ่งมีดังกรณีต่อไปนี้
1. การนำเข้าสินค้าดังต่อไปนี้
- พืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ เหง้า ดอก หัว ผัก เมล็ด หรือส่วนอื่นๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ทั้งนี้ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีกหรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้นหรือด้วยวิธีอื่น ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าวแต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
- สัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นเนื้อส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนมและวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ทั้งนี้ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีกหรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้น หรือด้วยวิธีอื่น แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะ หรือ หีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
- ปุ๋ย
- ปลาป่น อาหารสัตว์
- ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุง รักษา ป้องกันทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
- หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
2. สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3. สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
4. สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากรแล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
อ้างอิงจาก : http://ccc.customs.go.th/cont_strc_simple_with_date.php?lang=th&top_menu=menu_homepage&ini_menu=import_procedure&left_menu=import_procedure_161208_07¤t_id=14232932404f505f4a
สำหรับการคำนวณภาษีนำเข้านั้นจะใช้ราคา CIF (ค่าสินค้า + ประกันภัย + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ) เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณรวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละประเภทของสินค้า
วิธีการคำนวณภาษีนำเข้า
ราคา CIF x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า
(ราคา CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ
หากสินค้าบางประเภทก็ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในการนำเข้า ซึ่งมีดังกรณีต่อไปนี้
1. การนำเข้าสินค้าดังต่อไปนี้
- พืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ เหง้า ดอก หัว ผัก เมล็ด หรือส่วนอื่นๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ทั้งนี้ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีกหรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้นหรือด้วยวิธีอื่น ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าวแต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
- สัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นเนื้อส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนมและวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ทั้งนี้ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีกหรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้น หรือด้วยวิธีอื่น แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะ หรือ หีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
- ปุ๋ย
- ปลาป่น อาหารสัตว์
- ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุง รักษา ป้องกันทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
- หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
2. สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3. สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
4. สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากรแล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
อ้างอิงจาก : http://ccc.customs.go.th/cont_strc_simple_with_date.php?lang=th&top_menu=menu_homepage&ini_menu=import_procedure&left_menu=import_procedure_161208_07¤t_id=14232932404f505f4a