Date:
September 25, 19
การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ผู้นำเข้า / ส่งออก จะพบว่าสินค้ามีการถ่ายลำ (TRANSSHIPMENT) หรือผ่านแดน (TRANSIT) ที่ประเทศหนึ่ง ในคอลัมน์นี้ Lissom จะนำเสนอความแตกต่างระหว่างการถ่ายลำ กับ การผ่านแดน กันนะคะ
คำแรก การถ่ายลำ (TRANSSHIPMENT) เรามาดูคำนิยามที่ทางกรมศุลกากรให้ไว้ก่อนนะคะ การถ่ายของจากยานพาหนะหนึ่ง ไปยังอีกยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร ภายใต้การควบคุมของศุลกากรในด่านศุลกากรแห่งเดียวกัน โดยมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร หรือก็คือ การที่สินค้าของเรามีการเปลี่ยนลำเรือ ก่อนที่จะมาถึงปลายปลายทางนั้นเองค่ะ (จากภาพด้านล่างจะเห็นว่า สินค้าจากประเทศต้นทางลงเรือ A จากนั้นมีการเปลี่ยนเรือ เป็นเรือ B เพื่อไปยังประเทศปลายทาง) จะขอยกตัวอย่างเพื่อง่ายต่อความเข้าใจนะคะ เหมือนเราต้องการไปประเทศอเมริกา เราต้องนั่งเครื่องบินจากกรุงเทพ อาจจะไปเปลี่ยนเครื่องบินที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนั่งต่อไปยังประเทศอเมริกาค่ะ ซึ่งการไปเปลี่ยนเครื่องบินที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นก็เหมือนการถ่ายลำนั้นเองค่ะ ซึ่งสินค้าที่นำเข้ามาประเทศไทยจะพบกว่า ส่วนมากจะมีการถ่ายลำที่ประเทศสิงค์โปร ก่อนจะนำเข้าที่ประเทศไทยค่ะ
คำที่สอง ผ่านแดน (TRANSIT) เรามาดูคำนิยามที่ทางกรมศุลกากรให้ไว้ก่อนนะคะ การขนส่งของผ่านราชอาณาจักร จากด่านศุลกากรแห่งหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามา ไปยังด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งที่ขนส่งของออกไป ภายใต้การควบคุมของศุลกากร โดยมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร การขนส่งของนั้นอาจมีการเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ การเก็บรักษาของ การเปลี่ยนภาชนะบรรจุเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ซึ่งของนั้น หรือมีพฤติกรรมใดๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้าเกี่ยวกับของดังกล่าวในระหว่างการผ่านราชอาณาจักร หรือก็คือ ในการขนส่งสินค้าจากประเทศต้นทาง โดยใช้เส้นทางของประเทศที่ 2 เป็นทางผ่าน เพื่อส่งสินค้าไปยังประเทศปลายทางนั้นเองค่ะ ซึ่งในการขนส่งสินค้าผ่านแดนนั้น จะพบได้มากในประเทศที่ไม่มีอาณาเขตติดชายฝั่ง ในการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าในบางครั้งจะต้องผ่านประเทศที่มีอาณาเขตติดชายฝั่งเพื่อส่งออกไปประเทศปลายทาง ซึ่งการผ่านแดนในประเทศไทย ในปัจจุบัน มี 2 รูปแบบ คือ
กรมศุลกากร >>> พิธีการสำหรับสินค้าถ่ายลำ หรือผ่านแดน
คำแรก การถ่ายลำ (TRANSSHIPMENT) เรามาดูคำนิยามที่ทางกรมศุลกากรให้ไว้ก่อนนะคะ การถ่ายของจากยานพาหนะหนึ่ง ไปยังอีกยานพาหนะหนึ่งที่ขนส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร ภายใต้การควบคุมของศุลกากรในด่านศุลกากรแห่งเดียวกัน โดยมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร หรือก็คือ การที่สินค้าของเรามีการเปลี่ยนลำเรือ ก่อนที่จะมาถึงปลายปลายทางนั้นเองค่ะ (จากภาพด้านล่างจะเห็นว่า สินค้าจากประเทศต้นทางลงเรือ A จากนั้นมีการเปลี่ยนเรือ เป็นเรือ B เพื่อไปยังประเทศปลายทาง) จะขอยกตัวอย่างเพื่อง่ายต่อความเข้าใจนะคะ เหมือนเราต้องการไปประเทศอเมริกา เราต้องนั่งเครื่องบินจากกรุงเทพ อาจจะไปเปลี่ยนเครื่องบินที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนั่งต่อไปยังประเทศอเมริกาค่ะ ซึ่งการไปเปลี่ยนเครื่องบินที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นก็เหมือนการถ่ายลำนั้นเองค่ะ ซึ่งสินค้าที่นำเข้ามาประเทศไทยจะพบกว่า ส่วนมากจะมีการถ่ายลำที่ประเทศสิงค์โปร ก่อนจะนำเข้าที่ประเทศไทยค่ะ
คำที่สอง ผ่านแดน (TRANSIT) เรามาดูคำนิยามที่ทางกรมศุลกากรให้ไว้ก่อนนะคะ การขนส่งของผ่านราชอาณาจักร จากด่านศุลกากรแห่งหนึ่งที่ขนส่งของเข้ามา ไปยังด่านศุลกากรอีกแห่งหนึ่งที่ขนส่งของออกไป ภายใต้การควบคุมของศุลกากร โดยมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราชอาณาจักร การขนส่งของนั้นอาจมีการเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ การเก็บรักษาของ การเปลี่ยนภาชนะบรรจุเพื่อประโยชน์ในการขนส่ง การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ซึ่งของนั้น หรือมีพฤติกรรมใดๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้าเกี่ยวกับของดังกล่าวในระหว่างการผ่านราชอาณาจักร หรือก็คือ ในการขนส่งสินค้าจากประเทศต้นทาง โดยใช้เส้นทางของประเทศที่ 2 เป็นทางผ่าน เพื่อส่งสินค้าไปยังประเทศปลายทางนั้นเองค่ะ ซึ่งในการขนส่งสินค้าผ่านแดนนั้น จะพบได้มากในประเทศที่ไม่มีอาณาเขตติดชายฝั่ง ในการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าในบางครั้งจะต้องผ่านประเทศที่มีอาณาเขตติดชายฝั่งเพื่อส่งออกไปประเทศปลายทาง ซึ่งการผ่านแดนในประเทศไทย ในปัจจุบัน มี 2 รูปแบบ คือ
- การขนส่งทางถนนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สินค้าส่งออกจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวผ่านประเทศไทยไปยังประเทศที่สาม หรือ จากประเทศที่สามผ่ารประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ผู้ขนส่งผ่านแดน ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุมัติจากกรมการขนส่งทางบกในการทำหน้าที่ขนส่งของผ่านแดน และ การขนส่งต้องดำเนินการความตกลงฯ ในเรื่องด่านศุลกากรที่เป็นด่านศุลกากรผ่านเข้าและออก และ เส้นทางการขนส่ง
- การขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากเป็นการขนส่งสินค้าของมาเลเซียระหว่างฝั่งตะวันออกไปยังฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมาเลเซียโดยทางรถไฟในประเทศไทย
กรมศุลกากร >>> พิธีการสำหรับสินค้าถ่ายลำ หรือผ่านแดน