Date:
April 21, 20
คลังสินค้าในกระบวนการโลจิสติกส์ !?
คลังสินค้า เป็นสถานที่สำหรับ พัก วาง หรือจัดเก็บสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดี พร้อมส่งสินค้าจนถึงลูกค้าปลายทาง ซึ่งมีกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญในการบริหารคลังสินค้า 3 กระบวนการ ประกอบด้วย การรับสินค้า การจัดเก็บสินค้า และการกระจายสินค้า ลักษณะทั่วไปของคลังสินค้าควรเป็นอาคารชั้นเดียว มีพื้นที่โล่งกว้างสำหรับเก็บสินค้า และควรมีประตูใหญ่หลายประตูเพื่อสะดวกในการขนถ่ายสินค้า
ประเภทของคลังสินค้า
1. คลังสินค้าประเภทรวมตัวกัน (Consolidation warehouse) เป็นคลังสินค้าที่รวมสินค้าจากแหล่งต้นทางและนำมาจัดเรียง เพื่อขนส่งให้ลูกค้าในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกันด้วยรถขนส่งที่มีขนาดใหญ่และระยะทางไกลมากขึ้นได้ ถือเป็นการลดต้นทุนในการขนส่ง
2. คลังสินค้าชนิดท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross-dock warehouse) ใช้สำหรับในการรับสินค้าและส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน เพื่อใช้ในการขนถ่ายจากพาหนะหนึ่งไปสู่อีกพาหนะหนึ่งในการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง ส่วนมากจะใช้ได้ดีกับประเภทสินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น ผักสด
3. คลังสินค้าชนิดแยกหีบห่อ (Break-bulk warehouse) ใช้ในการแบ่งแยกให้สินค้ามีขนาดเล็กลงจากหีบห่อหรือพาเลตขนาดใหญ่ เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้า นิยมใช้รถขนาดเล็กที่มีความคล่องตัวและโหลดสินค้าได้เร็ว
4. คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งผู้นำเข้าสามารถแบ่งเบาค่าอากรขาเข้าที่ต้องชำระให้แก่กรมศุลกากรโดยไม่จำเป็นต้องชำระทั้งหมด กรมศุลกากรอนุญาตให้ชำระเท่าจำนวนที่ต้องการนำออกไปเท่านั้น ส่วนที่ยังไม่นำออกสามารถฝากเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนได้จนครบ 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้าฝากเก็บ
5. คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ เป็นคลังสินค้าที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ เช่น การเก็บรักษาด้วยการแช่แข็ง (Frozen Storage) , คลังสินค้าเก็บเคมีหรือคลังสินค้าเก็บไวน์
6. คลังยุทธปัจจัย เป็นคลังสินค้าที่มีไว้เพื่อการทหาร อยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพบกในการเก็บรักษาและการแจกจ่ายไว้ใช้เมื่อเกิดสงคราม หรือเหตุฉุกเฉินต่างๆ
7. คลังสินค้าเทกอง มักจะเป็นคลังสินค้าที่ไม่มีหลังคา ใช้ในการเก็บพืชไร่ , หรือแร่ธาตุ
8. คลังสินค้าประเภทไซโลและถัง (Silo & Tank) ซึ่งมีลักษณะปิดมิด โดยมีวัตถุประสงค์ในการเก็บสินค้าบางประเภท ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ด , เกล็ด , ผลหรือเป็นของเหลวหรือที่เป็นก๊าซ
9. คลังสินค้าอันตราย ทำหน้าที่เก็บสินค้าที่เป็นอันตราย เช่น สารพิษ สารเคมี เชื้อเพลิง และ วัตถุระเบิด เป็นต้น สิ่งที่สำคัญคือการจัดการแยกประเภทของวัตถุอันตรายและการจัดเก็บให้เหมาะสมตามหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์ของวัตถุนั้น ๆ เพื่อป้องกันคามเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
ประโยชน์ของคลังสินค้า
1. การให้ความสะดวกลูกค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้แน่ใจว่ามีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ในกรณีที่มีออเดอร์ด่วน หรือออเดอร์จำนวนมากๆ
2.จัดเก็บสินค้าจากการผลิตจำนวนมากๆหรือเพื่อความคุ้มค่าในการผลิต ดังนั้นการผลิตแบบนี้จึงต้องการคลังสินค้า
3. ป้องกันวัตถุดิบขาดและทำให้การผลิตขาดช่วง
4. ลดปัญหาจากความล่าช้าในการขนส่งที่เกี่ยวกับ warehouse เช่น การรับของจากหลายที่เพื่อส่งปลายทางเดียวกัน ทำให้เสียเวลาในการเดินทางเนื่องจากไม่มีพื้นที่จัดเก็บของหรือพักของที่แน่นอนและเพียงพอ
5. การเก็งกำไรของสินค้าบางช่วง ที่สินค้ากำลังขาดแคลน
6. การเก็บสินค้าในช่วงวิกฤติ หรือฉุกเฉิน เช่น การเก็บน้ำดื่มในช่วงน้ำท่วม
7. การเก็บสินค้าเพื่อใช้ในการส่งเสริมการขาย
แหล่งที่มา : https://bit.ly/2KjUfe4
https://bit.ly/3bzaK29
https://bit.ly/2VETGRm
https://bit.ly/3bp1woL